สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 มิถุนายน 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,895 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,938 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,099 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,113 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,690 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,575 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.57
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,113 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,557 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,097 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,485 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 72 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,425 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,875 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 550 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 506 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,710 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 491 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,435 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 275 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,611 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,598 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0484
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่าเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 กรมการค้าต่างประเทศ
ได้ยื่นหนังสือเข้าร่วมประมูลข้าว 25% แบบรัฐต่อรัฐ (G-to-G) ต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นการจัดขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 ปี รวมปริมาณ 3 แสนตัน ทั้งนี้ เบื้องต้นฟิลิปปินส์กำหนดหลักเกณฑ์ให้เสนอราคารวมค่าขนส่ง (CIF) เฉลี่ยไม่เกิน 490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และกำหนดให้ผู้ชนะการประมูลต้องส่งมอบภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2563
“ส่วนแผนการผลักดันการส่งออกข้าวไทย กรมยังคงต้องเดินหน้าต่อไป ทั้งจีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง เพื่อผลักดันการส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งปี 2563 ปริมาณ 7.5 ล้านตัน และจะไม่กำหนดปริมาณ
การส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ดีขึ้น”
นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ประเมินเบื้องต้นว่าโอกาสที่ไทยจะชนะการประมูลครั้งนี้มีน้อยมาก เพราะราคาส่งออกข้าวขาว 25% ล่วงหน้า (FOB) ของไทยตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อรวมค่าจัดการอีกตันละ 60 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ข้าวไทยราคาตันละ 530 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าราคาเกณฑ์กลางที่ฟิลิปปินส์ตั้งไว้ที่ตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับราคาข้าวเวียดนามตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ
“เป็นที่น่าสังเกตว่าการประมูลครั้งนี้ ฟิลิปปินส์เชิญทั้งอินเดียและเมียนมา จากเดิมมีเพียงเวียดนามและไทย ซึ่งปัจจุบันอินเดียมีสต็อกข้าวส่วนเกินถึง 20 ล้านตัน และราคาข้าวขาว 25% ของอินเดีย ตันละ 360 ดอลลาร์สหรัฐ หากรวมค่าบริหารจัดการด้วย ราคาก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของฟิลิปปินส์ และยังถูกกว่าไทยถึงตันละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ โอกาสที่อินเดียจะชนะการประมูลมีสูงมาก หรือแม้แต่เมียนมาก็มีโอกาสชนะประมูลอย่างน้อย 50,000 ตัน”
อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมประมูลจะเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่หากไทยไม่สามารถชนะประมูล ทางเอกชนยังสามารถส่งออกโดยใช้กรอบความตกลงอาฟต้า อัตราภาษีร้อยละ 35 ส่วนประเทศนอกอาเซียน อัตราภาษีร้อยละ 50
นายกีรติ  รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้ปรับแผนการเจรจาขายข้าวไทย โดยจะใช้ระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ และระบบ Zoom ในการพบปะเจรจากับผู้ซื้อ ผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปพบปะกันทำได้ยากขึ้น จากการที่บางประเทศยังมีมาตรการล็อกดาวน์ และบางประเทศยังห้ามบินเข้าประเทศ จึงต้องหันไปใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
“กรมฯ มีแผนที่จะร่วมมือกับผู้ส่งออก จัดพบปะทางออนไลน์กับผู้ซื้อผู้นำเข้าในประเทศเป้าหมาย เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน เพื่อสอบถามสารทุกข์สุกดิบ สอบถามสถานการณ์การค้า การบริโภคข้าว
หากต้องการซื้อข้าวเพิ่มเติม ไทยมีข้าวพร้อมส่งออกที่ไม่จำกัดปริมาณการส่งออก และข้าวไทยเป็นข้าวคุณภาพดี เชื่อมั่นได้” ขณะที่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ยังรอดูสถานการณ์ก่อนนำเข้า หากมีความต้องการซื้อ ไทยจะสามารถขายได้ได้แน่นอน ส่วนจีน กำลังเจรจาผลักดันให้จีนปิดการซื้อขายข้าวในส่วนที่เหลืออีก 300,000 ตัน ของสัญญาทั้งหมด 1 ล้านตัน เพราะขณะนี้รถไฟไทย-จีน สัญญา 2.3 มีความคืบหน้า
สำหรับแนวโน้มการส่งออกข้าวไทยในปีนี้ คาดว่า ความต้องการในตลาดโลกจะยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
แต่ต้องระวังเรื่องการแข่งขันจากประเทศคู่แข่ง ซึ่งเวียดนามได้ยกเลิกห้ามส่งออกข้าวแล้ว ที่ก่อนหน้านี้ได้ชะลอการส่งออกเพื่อให้มีข้าวบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอรองรับการระบาดของโควิด-19 และปีนี้ยังตั้งเป้าส่งออกประมาณ 7 ล้านตัน ใกล้เคียงกับไทยที่ตั้งเป้า 7.5 ล้านตัน ส่วนอินเดียเพิ่งปลดล็อกให้มีการส่งออกได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดข้าวของไทย
ที่มา : matichonelibrary.com , ประชาชาติธุรกิจ , ไทยรัฐ
 
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 8 ปี เนื่องจากผู้ค้าข้าวต่างเร่งจัดหาข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาวะฝนที่ตกหนักทำให้การเก็บเกี่ยวข้าวในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงหยุดชะงักลง โดยข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จากตันละ 450-460 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2555
วงการค้าระบุว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากในการจัดหาข้าวให้เพียงพอตามสัญญาที่ทำไว้กับผู้ซื้อจากมาเลเซีย และคิวบา ประกอบกับฝนที่ตกหนักได้ทำให้การเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วงในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงล่าช้ากว่ากำหนด
ทางด้าน The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม -
15 มิถุนายนนี้ มีเรือประมาณ 18 ลำ เข้ามารอรับมอบข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อขนถ่ายสินค้าข้าวประมาณ 261,850 ตัน
ด้านกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนเมษายน 2563 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 508,527 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 22.39 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2563 ที่ส่งออกจำนวน 655,260 ตัน และลดลงประมาณร้อยละ 31.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ส่งออกจำนวน 741,044 ตัน
โดยในเดือนเมษายน 2563 ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 163,150 ตัน
ข้าวขาว 15% จำนวน 2,800 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 16,520 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 14,845 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 126,963 ตัน ข้าวหอมจำนวน 173,450 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 10,799 ตัน โดยส่งไปยังตลาด
ในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย
1. ตลาดเอเชียจำนวน 435,037 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 133,996 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 2,800 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 16,520 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 10,602 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 125,248 ตัน
ข้าวหอมจำนวน 137,507 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 8,364 ตัน
2. ตลาดแอฟริกาจำนวน 50,170 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 18,925 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 3,385 ตัน ข้าวหอมจำนวน 27,734 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 125 ตัน
3. ตลาดยุโรปจำนวน 1,192 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 25 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 152 ตัน
ข้าวหอมจำนวน 1,014 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 1 ตัน
4. ตลาดอเมริกาจำนวน 565 ตัน ประกอบด้วย ข้าวเหนียวจำนวน 60 ตัน ข้าวหอมจำนวน 341 ตัน และ
ข้าวอื่นๆ จำนวน 163 ตัน
5. ตลาดโอเชียเนียจำนวน 5,868 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 1,204 ตัน ปลายข้าวขาวจำนวน 858 ตัน ข้าวเหนียวจำนวน 165 ตัน ข้าวหอมจำนวน 1,777 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 1,864 ตัน และตลาดอื่นๆ ประมาณ 15,697 ตัน
มีรายงานว่า สมัชชาแห่งชาติของเวียดนามได้เห็นชอบการให้สัตยาบันในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป (EVFTA) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 ซึ่งข้อตกลงดังกล่าว จะนำไปสู่การลดภาษีสินค้าประมาณร้อยละ 99 เมื่อซื้อขายสินค้าระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป โดยคาดการณ์ว่าข้อตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เวียดนามและสหภาพยุโรปได้ร่วมลงนามข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม หรือ EVFTA และข้อตกลงการคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป หรือ EVIPA ณ กรุงฮานอย
ในโอกาสดังกล่าว นายกรัฐมนตรี Nguyen Xuan Phuc พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวง
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของเวียดนาม ในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเศรษฐกิจโลก ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจเวียดนามมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นในอนาคต เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าระหว่างกันลดลง
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.81 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.01 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,116 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 286.25 ดอลลาร์สหรัฐ (8,999 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.57 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 117 บาท 
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 329.60 เซนต์ (4,085 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 325.20 เซนต์ (4,081 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 4 บาท
 

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 28.531 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 8.20 และร้อยละ 8.95 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.60 ล้านตัน (ร้อยละ 2.03 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชิ้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกและเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.64 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.03 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.96 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.17
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.13 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,831 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,916 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,133 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,297 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.562 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.666 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 6.24 และร้อยละ.6.33 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.13 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.45 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.28                     
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.78 บาท ลดลงจาก กก.ละ 22.16 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.71              
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาฟิวเจอร์สน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูงขึ้น เนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ( ระหว่างวันที่ 1-10 มิ.ย. 63) หลังจากมาตรการโควิด-19 ผ่อนคลายลง ราคาอ้างอิงตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ณ เดือน สิงหาคม เพิ่มขึ้น 0.64 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2,364 ริงกิต ราคาน้ำมันปาล์มคาดลดลง 1.60 เปอร์เซ็นต์ เพราะปาล์มเข้าสู่ช่วงออกผลผลิตเยอะ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,407.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (17.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,428.44 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.87    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 585.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.44 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 580.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.92
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

        1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ    
         
           ไม่มีรายงาน

 
        2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ         
        


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.49 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.95
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 865.36 เซนต์ (10.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 851.28 เซนต์ (9.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.65
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 288.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 285.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.99 เซนต์ (19.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.72 เซนต์ (19.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.97
 

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.08
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัม 31.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 17.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 41.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.19
 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,031.00  ดอลลาร์สหรัฐ (32.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,017.50  ดอลลาร์สหรัฐ (31.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 966.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 937.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.48 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,031.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.01 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,033.50 ดอลลาร์สหรัฐ (32.49 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.49 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 577.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 601.50 ดอลลาร์สหรัฐ (18.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.04 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.99 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,316.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,343.25 ดอลลาร์สหรัฐ (42.23 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.01 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.36 บาท

 
 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.70
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 60.73 เซนต์(กิโลกรัมละ 42.14 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 59.21 เซนต์ (กิโลกรัมละ 41.60 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.57 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.54 บาท)
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,805 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.28
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,508 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,502 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 954 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ในสัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกร ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนทำให้หลายพื้นที่มีฝนตก ส่งผลให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  67.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.95 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.44 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,200 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.41


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไก่เนื้อ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.80 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดยังคงมีมากและสะสม เพราะตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษายังปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 271 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 276 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 275 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 260 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 295 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 353 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 356 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 370 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 314 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 398 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.98 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.43 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 


ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 มิถุนายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.21 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 142.52 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 139.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.58 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.25 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.34 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.16 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่นราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.14 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา              
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา